มอเตอร์กันระเบิด (Explosion Proof Motor)

                
           ในโรงงานเคมีและโรงกลั่นน้ำมันเป็นพื้นที่ที่อากาศมักมีส่วนผสมของสารเคมี ก๊าซ ไอระเหย สามารถเกิดการระเบิดได้ โดยเครื่องจักรส่วนใหญ่จะขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเมื่อนำมาใช้งานจะต้องมีความเชื่อมั่นใน ความปลอดภัยสูง และจะต้องเป็นแบบป้องกันระเบิด รวมทั้งได้รับการออกแบบ การเลือกใช้และการติดตั้ง ให้ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย
           สถานที่ซึ่งสามารถเกิดอันตราย แบ่งพื้นที่ออกตามโอกาสที่จะติดไฟ หรือตามความร้ายแรง โดยแบ่งพื้นที่ก๊าซออกเป็น 3 โซน 

                 
           Zone 0 : เป็นพื้นที่ก๊าซอันตรายสูงสุด ซึ่งมีก๊าซ หรือไอที่มีการระเบิดได้ตลอดเวลา เป็นช่วงเวลานาน เช่น ในภาชนะที่บรรจุของเหลวที่ติดไฟหรือแก๊ส, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลง พื้นที่นี้จะไม่อนุญาติให้มีการใช้มอเตอร์
           Zone 1 :  เป็นพื้นที่ที่อาจมีก๊าซไวไฟจากการทำงานปรกติเช่น ช่องประตูเปิดและปิดเพื่อส่งถ่ายสารไวไฟ หรือ พื้นที่รอบๆท่อส่งก๊าซไวไฟ ชนิดของมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้ Ex e/Ex d
           Zone 2 :  เป็นพื้นที่ที่อาจมีก๊าซไวไฟบ้าง เป็นครั้งคราวในระยะสั้นซึ่งไม่ได้เกิดจากการทำงานปรกติ โดยจะมีโอกาสที่อาจเกิดขึ้นได้นานๆครั้ง และมีช่วงระยะเวลาสั้นๆ อุปกรณ์ใน Zone 1 สามารถใช้ใน Zone นี้ได้ ชนิดของมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้ Ex n, Ex e, Ex d


          Temperature Classes

         เราสามารถแบ่งกลุ่มของสารไวไฟ ตามระดับของจุดวาบไฟของสารไวไฟ โดยแบ่งประเภทของอุณหภูมิออกเป็น 6 ระดับ คือ T1 ถึง T6 ตามอุณหภูมิของการจุดระเบิด 

         อุณหภูมิของการระเบิดหรือจุดวาบไฟของสารเคมีแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ดังนั้นมอเตอร์ทุกตัวที่จะนำไปใช้ในพื้นที่อันตรายจะต้องเลือกประเภทของอุณหภูมิสูงสุดต้องไม่เกินจุดวาบไฟ

          

 ประเภท class ของอุณหภูมิ  

  อุณหภูมิสูงสุดของการจุดระเบิด  
T1  > 450 C
T2 300-400 C 
T3 200-300 C 
T4 135-200 C
T5 100-135 C
T6 85-100 C

          
          
สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบ Flame proof จะมีลักษณะการป้องกันเป็นแบบโครงสร้างกันระเบิด ป้องกันเปลวไฟออกไปยังภายนอก ดังนั้นขนาดช่องว่างที่เปลวไฟจะเล็ดลอดออกมาได้จะต้องถูกจำกัด ตามลักษณะของสารไวไฟ โดยใช้อักษร ABC ต่อท้ายขยายความโซน เพื่อ ระบุขนาดของช่องว่างอากาศ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

Explosion group Maximum experimental safe gap (MESG)
IIA  0.9 mm < MESG
IIB 0.5 mm ≤ MESG < 0.9 mm
IIC  MESG < 0.5 mm

 

          ชนิดและการออกแบบการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า

           ชนิดของการป้องกันการระเบิด ขึ้นอยู่กับการออกแบบของตัวมอเตอร์ ซึ่งมีความแตกต่างกันโดยมีสัญลักษณ์ Ex?? เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึง วิธีการออกแบบ การป้องกันระเบิด โดยใช้กำหนดลักษณะตัวอักษรตัวเล็กเข้าไป เช่น Ex e โดยตัวอักษรเล็ก มีความหมายสอดคล้องตามมาตรฐานดังต่อไปนี้

           "n" ไม่เกิดประกายไฟ (Non sparking) :  หมายความว่า ในขณะที่ทำงาน จะต้องไม่มีการจุดประกายไฟ ในขณะการทำงานตามปกติ อนุญาติให้ใช้ได้ในเฉพาะพื้นที่ Zone2

           "e" เพิ่มความปลอดภัย (Increase-safety) : ชนิดของการป้องกันนี้ เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีการจุดระเบิด ในขณะที่มีการใช้งาน

           "d" ป้องกันการระเบิด (Flameproof) บางครั้งอาจเรียกว่า Explosion proof) : จะต้องมีการป้องกันไม่ให้ระเบิดออกมา ซึ่งโครงสร้างผิวจะต้องปิดสนิท มิดชิดทั้งหมดทั้งสายไฟเข้า ส่วนที่มีการเคลื่อนไหวและอื่นๆ เพื่อป้องกันประกายไฟที่อาจจะจุดระเบิดได้ ดังนั้นโครงสร้างมอเตอร์จะต้องออกแบบหนาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนต่อการติดไฟจากภายใน


            การเลือกใช้มอเตอร์ควรคำนึงถึงสถานที่ ว่าอยู่ใน Zone การใช้งานใด ตามแผนภาพข้างต้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน เช่น พื้นที่ Zone 2 เราสามารถใช้งานมอเตอร์ Ex n หรือ Ex e ได้ และใน Zone 1 บางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องใช้งานในรูปแบบของ Ex d แต่อาจจะใช้เป็นชนิด Ex e ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่จะนำมอเตอร์ไปใช้ ถ้าผู้ใช้งานมีความเข้าใจในการเลือกมอเตอร์ตามความเหมาะสม จะทำให้ใช้งานมอเตอร์ได้ตรงจุด คุ้มค่า โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เป็นแบบ Ex d หรือ Flameproof ซึ่งมีราคาสูงกว่าแบบ Non sparking และ Increase-safety เสมอไป